เบาหวานกับโรคไต
โรคไตจากเบาหวาน
-
เกิดจากผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ
โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
-
ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง
ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ
-
โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10
ปี ขึ้นไป
-
ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า
และลำตัว
เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต
-
การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูงไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
-
เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไตโดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN
) และคริเอตินิน ( Creatinine
) จะสูงกว่าคนปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน
-
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-
อาการบวม
-
ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
-
ไตวายฉับพลัน
-
ไตวายเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน
พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 30 35 %
จะเป็นโรคไต โดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตจาก
พันธุกรรม, ระดับน้ำตาลสูง,
ความดันโลหิตสูง, โปรตีนรั่วในปัสสาวะ,
การสูบบุหรี่
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
เพื่อป้องกันโรคไต
-
ตรวจปัสสาวะ
เพื่อหาโปรตีนทุกปี
-
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติ
เท่าที่สามารถทำได้
-
รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือ
สารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น
ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
-
สำรวจ และให้การรักษาโรค
หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น
การติดเชื้อทางปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
และเป็นโรคไต
-
ตรวจปัสสาวะ
และ เลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะ ๆ
-
กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน
และพบแพทย์ตามนัด
-
งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์
ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
-
ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ
ยาอื่น ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
และเภสัชกร
-
เมื่อมีอาการบวม
ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
-
ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือ
ใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
-
ระวังอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง
-
รับประทานผัก และปลามากขึ้น
-
ควรตรวจอวัยวะอื่น
ๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
-
สำรวจผิวหนัง
และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
-
ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม
ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
-
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
*****************************
ข้อแนะนำผู้ป่วยโรคไต
-
งดอาหารโคเลสเตอรอลสูง
เช่น อาหารทะเล ,เนื้อ
หมู ติดมัน ,กุ้ง
,หอย ,ทุเรียน และอื่นๆ
-
งดอาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เช่น
อาหารประเภทแป้ง , ของหวาน ,ผลไม้รสหวาน ,ครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
-
งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง
ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม
และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง
จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น
และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น
นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
*****************************
การรักษาผู้ป่วยโรคไต
-
ผู้ป่วยโรคไตวาย
ชนิดเฉียบพลัน
-
ผู้ป่วยโรคไตวาย
ชนิดเรื่อรัง
1.ผู้ป่วยโรคไตวาย
ชนิดเฉียบพลัน
อาการของภาวะไตวายเฉียบพลันมักปรากฏอาการดังนี้
การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลัน
แพทย์จะทำการซักประวัติ
รวมไปถึงการซักถามว่าการรับประทานยาอะไรมาก่อนหน้านี้
ซึ่งจากอาการก็อาจจะพอบอกสาเหตุของไตวายได้
ตรวจเลือดและการตรวจปัสสาวะ
เพื่อดูว่า การทำงานของไตเป็นอย่างไรบ้าง
รวมไปถึงตรวจดูว่าเกลือแร่(โซเดียม และ โปแตสเซียม)ในร่างกายยังอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่
เพื่อหาสาเหตุของโรคไตวาย
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน
แพทย์จะทำการรักษาจากสาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน ไปพร้อมๆกับ
-
พักการทำงานของไต หรืออาจได้รับการฟอกเลือด
การรักษานี้จะใช้เครื่องฟอกเลือด ซึ่งจะทำหน้าที่แทนไต จนกว่าไตจะกลับมาทำงานได้เป็นปกติครับ
-
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตวาย โดยอาจได้รับยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยขับน้ำและเกลือแร่ส่วนเกินออกไปจากร่างกาย
-
ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานอาหารซึ่งจัดเป็นพิเศษ
อาหารนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไป
ซึ่งจะมีโปรตีนที่ต่ำ จำกัดเกลือแร่บางชนิดเช่น โซเดียม
โปแตสเซียม และฟอสฟอรัสที่ต่ำ
โรคไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาหายขาดได้หรือไม่
โดยทั่วไปการรักษาจะใช้เวลาประมาณ
2วัน-3 สัปดาห์ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
แต่ในผู้ป่วยบางคน ภาวะไตวายไม่สามารถกลับคืนมาได้เป็นปกติ
และเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า ไตวายเรื้อรังต่อไป
2.ผู้ป่วยโรคไตวาย
ชนิดเรื่อรัง
อาการของภาวะไตวายเรื่อรังมักปรากฏอาการดังนี้
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซีด บวมตามร่างกาย
ชาปลายมือปลายเท้า คันตามตัว หายใจหอบลึก เลือดออกตามผิวหนัง ไรฟัน
ระยะท้ายมีอาการซึมชักและหมดสติในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดทีละอย่าง
หรือพร้อมกันก็ได้ และอาจพบอาการเหล่านี้ในโรคอื่นๆ ได้ด้วย
ไม่ควรคิดว่าเป็นโรคไตจนกว่าจะได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง
มี 4 วิธี ดังนี้
1.
การรักษาด้วยยา และควบคุมน้ำ, อาหาร
วิธีนี้จะได้ผลในผู้ป่วย ที่ไม่ถึงระยะสุดท้ายของโรค
ยาที่ใช้ เช่น
-
ยาปรับดุลน้ำ เกลือ ภาวะกรดด่าง
ยาจับฟอสเฟต ไม่ให้ถูกดูดซึมจากลำไส้ ยาทดแทนฮอร์โมนที่ไตสร้าง
ฯลฯ ควรรับประทานยาอย่างเคร่งครัด ตามขนาดที่แพทย์สั่ง
ไม่เปลี่ยนยาหรือซื้อยารับประทานเอง
เพราะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
-
การควบคุมน้ำ ผู้ที่เป็นโรคไตวาย
ไตจะขับน้ำปริมาณเท่าเดิมไม่ว่าจะได้รับน้ำมากหรือน้อย
ทำให้เกิดน้ำคั่งอยู่ในตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม เกิดอาการเป็นพิษจากน้ำ
คือ ซึม ชักและหมดสติ
-
การให้น้ำปริมาณน้ำที่พอดีสำหรับผู้ป่วย (ต่อวัน) =
ปริมาณปัสสาวะ(ต่อวัน) + 800 ซีซี. (1 ขวดน้ำปลากลม)
-
การควบคุมเกลือโซเดียม
เกลือโซเดียมคือเกลือที่ทำให้อาหารมีรสเค็ม
ในผู้ที่บวมให้งดเติมเกลือในอาหาร (งดอาหารที่มีรสเค็ม)
และงดอาหารที่มีเกลือสูง เช่น น้ำปลา เนยแข็ง เต้าหู้ยี้ แหนม
ของหมักดอง ซอสทุกชนิด ไส้กรอก อาหารกระป๋อง ผงชูรส น้ำพริก
อาหารยำทุกชนิด เป็นต้น
-
การควบคุมเกลือโปแตสเซียม
ผู้ป่วยที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 800 ซีซี..ต่อวัน
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียมสูง เช่นผลไม้ทุกชนิด
สะตอ ถั่ว เครื่องในสัตว์ ผักสด และผักที่แช่แข็ง หอย มะขาม กาแฟ
ช็อคโกแลต ฯลฯ
เพราะปริมาณโปแตสเซียมคั่งในร่างกายจะเป็นอันตรายต่อหัวใจโดยตรง
ทำให้เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว
-
การควบคุมอาหารโปรตีน
การกำจัดอาหารโปรตีนตั้งแต่ต้นจะช่วยชะลอการทำลายเนื้อไต
ผู้ที่เป็นโรคไตวายต้องจำกัดอาหารโปรตีนเหลือ 40 กรัมต่อวัน
และควรเลือกโปรตีนคุณค่าสูง เช่นโปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์
แต่ควรลดปริมาณลง ส่วนโปรตีนจากพืชมีคุณค่าน้อยกว่า
ให้หลีกเลี่ยงการรับประทาน
ตัวอย่างโปรตีนในอาหาร
ไข่ไก่ 1 ฟอง มีโปรตีน 6-8 กรัม
นมสด 1 ถ้วย มีโปรตีน 8 กรัม
เนื้อสัตว์ 1 ขีด มีโปรตีน 23 กรัม เป็นต้น
-
การควบคุมน้ำและอาหารในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน
ดังนั้นควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ผู้รักษา
|