Home

บริษัทเฟรชแอนด์ไชน์ จำกัด ผู้ผลิตยาเห็ดหลินจือสายพันสีแดงและสีดำ

 

ให้การสนับสนุนรายการนี้

 

บันทึกรายการวิทยุ   89.5  FM

   ดำเนินรายการโดย คุณชนาธิป ไพรพงศ์

 

หนังสือเห็ดหลินจือกับการรักษาโรค

   

เขียนโดย สมศักดิ์ ชินกร

 
   
 

 
 

 

 

 

ฟังเพลงเพราะๆ ประกอบรายการ

 
   

ดำเนินรายการโดย   คุณชนาธิป ไพรพงศ์

 
   
 
 
 

คลิกฟัง     เรื่อง  โรคมะเร็ง และ มะเร็งตับ

 
       มะเร็งเป็นโรคร้ายที่อันตราย และสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมี ดังนี้

1.  เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเอื้อให้เป็นมะเร็ง   ตรงนี้มักจะพบว่าคนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นโรคมะเร็งในกลุ่มเดียวกัน

2. เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง    ( carcinogen ) จากสิ่งแวด  ล้อม   เช่น  ควันบุหรี่   แสง UV    เชื้อไวรัสบางชนิด เป็นต้น

3.ในร่างกายของคนเราจะเกิดเซลล์มะเร็งขึ้นเองตลอดเวลา  แต่ในเวลาเดียวกันร่างกายก็จะมีระบบภูมิคุ้มกันกำจัดเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน แต่ถ้าระบบภูมิคุ้มกันกำจัดเซลล์มะเร็งมีปัญหาไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ตรงจุดนี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง

 
 
 
 
คลิกฟัง  เรื่อง โรคหัวใจ

ปีพ.ศ. 2547  กระทรวงสาธารณสุขเผย คนไทยเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจ ชั่วโมงละ 4 ราย  และป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 32,896 ราย เฉลี่ยเดือนละ 2,741 ราย หรือชั่วโมงละเกือบ 4 ราย  เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ  จังหวัดที่มีอัตราการตายสูงที่สุดในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เฉลี่ยแสนละ 91 ราย  เพศชายมีอัตราแสนละ106 ราย สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 2  เท่าตัว  เพศหญิงมีอัตราการตายแสนละ 77 ราย  และมีแนวโน้มว่าคนป่วยจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ  สาเหตุของโรคหัวใจ 80% มาจากพฤติกรรมจากการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย  

กล่าวกันว่า  ชาวจีนโบราณรู้จักใช้เห็ดหลินจือบำรุงและรักษาโรคหัวใจ  ตั้งแต่ต้นสมัยราชวงศ์หมิงราว  630  ปี  และที่ผ่านมาหมอจีนโบราณยังคงใช้รักษา ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

 
 
 
 
 
 

คลิกฟัง   เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง

           โรคความดันโลหิตสูง  เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องกินยา ควบคุมไปตลอดชีวิต  หากหยุดยาเมื่อไหร่ความดันของโลหิตอาจกลับมาสูงได้อีก  ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะมีโรคแทรกเข้ามาอีก 1 โรค  คือโรคหัวใจ  สรุปง่าย ๆ  ก็คือ  โรคความดันโลหิตสูงจะอยู่เคียงข้างไปกับโรคหัวใจ และส่วนใหญ่ในคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจมักจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

                ความดันโลหิตคืออะไร  คำตอบก็คือระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำงานร่วมกัน  โดยมีหัวใจเป็นตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือดให้ไหลเวียนทั่วร่างกาย 

ถ้าหัวใจและหลอดเลือดทำงานปกติ  ความดันของเลือดก็จะปกติ  แต่ถ้าหัวใจสูบฉีดเลือดไม่ดี  หรือหลอดเลือดเกิดตีบตันขึ้นมา  ระบบไหลเวียนของเลือดก็จะมีปัญหา

                 การตรวจความดันสามารถตรวจได้ง่าย โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดดังกล่าวจะแสดงค่าของ ความดันโลหิตแบ่งออกเป็นสองตัว  คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน   และค่าความดันโลหิตตัวล่าง

ค่าความดันโลหิตตัวบน   เป็นค่าความดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกมาเข้าสู่หลอดเลือด   ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่าง   คือค่าความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือด   ในขณะที่หัวใจได้คลายการสูบฉีดเลือดลงแล้ว  

ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงควรจำค่าความดันโลหิตทั้งสองนี้ไว้   เพราะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

 

 
 
 
 
 
 คลิกฟัง  รื่อง โรคเบาหวาน

    สาเหตุของโรคเบาหวานพอจำแนกคร่าวๆได้ดังนี้

 1. กิดจากทางพันธุกรรม   และผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน  แต่จะพบโดยบังเอิญ เช่น พบขณะตรวจร่างกายประจำปี   หรือมีอาการเกิดโรคติดเชื้อ   เช่นเป็นฝีโดยไม่ทราบสาเหตุ  อยู่ๆก็เกิดขึ้นมา

2. เกิดในคนอ้วน เพราะมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนผอม 

3. กิดจากความเสื่อมของตับอ่อน

4. อายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น

รคเบาหวานมี 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1   พบน้อยมากมีประมาณ 5 % ของผู้ป่วยทั้งหมด   มักพบในเด็ก   ลักษณะของเด็กจะผอม   โรคเบาหวานชนิดนี้จะรุนแรง   ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลินอย่างเดียว    กินยาเม็ดไม่ได้ผล    สาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันตับอ่อนบกพร่อง  ตับอ่อนถูกทำลาย  ทำให้สร้างสารอินซูลินได้ไม่เพียงพอ  ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นกว่าปกติและเป็นเบาหวาน

ประเภทที่ 2  พบได้ประมาณ 95% ของผู้ป่วยส่วนมาก  พบในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงสูงอายุ  จัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งถ่ายทอดทางยีนจากพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย   พบในคนที่มีอายุมากกว่า  45 ปี ขึ้นไป   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานคือ  ความอ้วน   ซึ่งมักจะเกิดตอนอายุมากขึ้น   อาจเกิดจากกินมากไป  ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อยไป ในระยะหลังมีรายงานว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยลงกว่าเมื่อก่อนกระทั่งในเด็ก และวัยรุ่นก็พบได้

 
 
 
 
 
 
  คลิกฟัง   เรื่อง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง
 

           ไขมันเป็นพลังงานที่ร่างกายต้องการ  แต่ถ้าระดับไขมันในเส้นเลือดมีมากเกินไป  มันคือมหันตภัยเงียบ  ที่จะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนหลายชนิด

                โรคไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม  สิ่งแวดล้อม  จากอาหาร  และจากยาบางชนิดเช่น  ยาต้านไวรัส

                ใครที่ป่วยด้วยโรคไขมันในเส้นเลือดสูง  โปรดเข้าใจไว้ด้วยว่ามันเป็นสะพานที่จะนำไปสู่การเป็นโรคแทรกซ้อนตามมาหลายชนิด  เช่น  โรคความดันโลหิตสูง  โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  โรคเส้นเลือดในสมองตีบทำให้เป็นอัมพาต โรคเส้นเลือดที่ขาตีบตัน  และโรคเบาหวาน

 
 
 
 
 
คลิกฟัง     เรื่อง  โรคตับและวิธีกินเห็ดหลินจือ
 

    ตับป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย  อยู่บริเวณชายโครงด้านขวาตอนบนเลยมาถึงลิ้นปี่   หน้าที่สำคัญของตับมีดังนี้

1.   กรองและกำจัดสารพิษต่างๆ  และเชื้อโรค ที่เราบริโภคเข้าไป

2.    เป็นตัวสร้างน้ำดี  ช่วยย่อยอาหาร

3.   เป็นตัวสร้างสารห้ามเลือดเช่น  เวลาถูกมีดบาดเลือดจะหยุดไหล

4.   เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

5.   เป็นแหล่งสะสมพลังงานให้แก่ร่างกายในรูปของน้ำตาล

6.   เป็นตัวสร้างสารที่เป็นส่วนประกอบโปรตีนเป็นแหล่งสะสมธาตุเหล็ก วิตามินเกลือแร่หลายชนิดที่ร่างกายต้องการ

 
 
 
 
 
 

คลิกฟัง   เรื่อง เห็ดหลินจือกับวิชาการสมัยใหม่

คำนำของผู้เขียน โดย คุณสมศักดิ์ ชินกร

คำนิยมโดย รศ. ดร. เอมอร  โสมนะพันธุ์

 

ห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า  มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์  โดยมีอยู่ที่ประเทศจีนมากที่สุด  และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้ว

เห็ดหลินจือได้ถูกจัดให้เป็นสมุนไพรในอันดับต้นๆ  ที่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ  ทำการวิจัย ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี  ทางชีวภาพ   และเภสัชวิทยาสมัยใหม่   พบว่าเห็ดหลินจือให้คุณค่าทางโภชนาการที่สูงและมีสารออกฤทธิ์ สรรพคุณทางยามากกว่า 150 ชนิด ที่ใช้รักษาโรคต่างๆได้อย่างกว้างขวาง เช่น  โรคมะเร็ง   โรคหัวใจ   โรคเบาหวาน   โรคตับ   โรคไขมันในเส้นเลือดสูง   โรคความดันโลหิตสูง   โรคภูมิแพ้   ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย   ซึ่งสารดังกล่าวพอที่จะจำแนกได้ดังต่อไปนี้

1.  กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ชนิดขม                  ( Bitter Triterpenoids )

2.  เออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) 

3.  กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotides ) 

4.  สารประกอบเยอร์มาเนียม                                       ( Germanium, Gc contents )

5.  กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์                                      ( Polysaccharides )

 
 
 
 

คลิกฟัง     เรื่อง  ระบบภูมิคุ้มกันโรค

 

         ที่สุดของการมีสุขภาพดี  ไม่เจ็บป่วยง่าย  ก็คือ  การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี  ภูมิคุ้มกันที่ดี  คือ  แสงสว่างที่มองเห็นอยู่ปลายอุโมงค์  มันคือที่มาของการมีสุขภาพดี  การที่คนเราป่วยและต้องกินยารักษา  ตรงนี้คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ  ทำอย่างไรถึงจะไม่ป่วย  ใช้อะไร  วิธีไหน  คำตอบก็คือ  การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี  ตรงจุดนี้สำคัญมาก  หลายคนถามว่าทำอย่างไรถึงจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี  คำตอบก็คือ โดยวิธีบำรุงรักษา 

                 ระบบภูมิคุ้มกัน  คืออะไรคำตอบก็คือเป็นกลไกอย่างหนึ่งในร่างกาย ที่ติดตัวเรามาตามธรรมชาติ  โดยมีหน้าที่หลัก กำจัดเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย  เช่น  เชื้อแบคทีเรีย  เชื้อไวรัส  เซลล์มะเร็ง  สารก่อมะเร็ง  เซลล์ที่มีอายุมาก  หรือสิ่งอื่น ๆ  ที่อาจให้โทษต่อร่างกาย  สิ่งเหล่านี้จะถูกระบบภูมิคุ้มกันกำจัดและทำลาย

 
 
 
 
 
 
คลิกฟัง 

    เรื่อง คุณค่าทางโภชนาการและวิธีบริโภค

 

       จากการวิจัยสารสกัดจากเห็ดหลินจือ โดยสถาบันวิจัยโครงสร้างสารแห่งชาติประเทศจีนที่มลฑลฟูโจว  พบว่าเห็ดหลินจือมีโปรตีนที่จัดว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์ได้มาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การอาหารและการเกษตร (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) แห่งสหประชาชาติ พบว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์ เช่น ไอโซลิวซีน  ลิวซีน  ไลซีน  เมไธโอนีน  ฟีนิลอะลานีน  ทรีโอนีน  ทริปโตแฟน  และวาลี  รวมถึง  ฮีสพีดีน  ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นในเด็ก  ก็ยังตรวจพบในเห็ดหลินจือ

มะเร็งสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ คำตอบก็คือถ้ารู้ตัวว่าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น ก็สามารถรักษาให้หายได้  แต่ถ้าเป็นระยะท้าย ๆ แล้วการรักษาจะยุ่งยากมาก เพราะฉะนั้น ก็อย่าได้ชะล่าใจ เดี่ยวนี้วงการแพทย์สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่ามีอะไรบ้างเป็นสารก่อมะเร็ง  เราก็ต้องหลีกเลี่ยง หรือใครที่มีญาติ พี่น้องเป็นมะเร็งกันหลาย ๆ คน ก็ควรไปตรวจดูว่า มันถ่ายทอดพันธุกรรมมาหลบอยู่ในตัวเราบ้างหรือไม่และที่สำคัญ   ควรมีการตรวจร่างกายประจำทุกปี    สมัยนี้เขามีวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างที่ช่วยตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกโดยวิธีการตรวจคัดกรอง    ( Screening test ) ช่วยวินิจฉัย  และพบว่าถ้าเป็นระยะเริ่มแรก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

 
 
 
 

 คลิกฟัง    เรื่อง  โรคภูมิแพ้

 

         โรคภูมิแพ้  เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโรคเบาหวานที่รักษาได้ แต่ไม่หายขาด   เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

               โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ  เป็นได้ทุกอายุพบมากในคนที่อายุ  5-15  ปี มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆและถ้าหากพบว่ามีอาการภูมิแพ้เกิดขึ้นไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ  ตามมาเช่น  โรคหอบหืด (Bronchial  asthma)  และเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง(Sinusitis) 

                โรคภูมิแพ้หมายถึงอะไร  คำตอบก็คือเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงอาการแพ้สารบางอย่างที่คนทั่วไปไม่แพ้  ตัวอย่างเช่น  บางคนกินกระเทียมแล้วแพ้เจ็บคอ ในขณะที่คนทั่วไปกินกระเทียมแล้วไม่แพ้ไม่เจ็บคอ  สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ  ก็คือ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่แพ้ในสิ่งที่คนทั่วไปไม่แพ้