หนังสือเห็ดหลินจือ

                        กับการรักษาโรค

เขียนโดย สมศักดิ์ ชินกร

 

 
 
  ริษัทเฟรชแอนด์ไชน์จำกัดได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เผยแพร่ข้อมูลได้

 

 
     
 

คุณค่าทางโภชนาการ

 
    และวิธีบริโภค  
 

        ากการวิจัยสารสกัดจากเห็ดหลินจือ โดยสถาบันวิจัยโครงสร้างสารแห่งชาติประเทศจีนที่มลฑลฟูโจว  พบว่าเห็ดหลินจือมีโปรตีนที่จัดว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์  ได้มาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การอาหารและการเกษตร  ( FAO ) และองค์การอนามัยโลก(WHO)  แห่งสหประชาชาติ  พบว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์  เช่น  ไอโซลิวซีน  ลิวซีน  ไลซีน  เมไธโอนีน  ฟีนิลอะลานีน  ทรีโอนีน  ทริปโตแฟน  และวาลี  รวมถึง  ฮีสพีดีน  ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นในเด็ก  ก็ยังตรวจพบในเห็ดหลินจือ

         สำหรับส่วนประกอบของเกลือแร่  พบว่าเห็ดหลินจือมีเกลือแร่อยู่หลายชนิด  ได้แก่  แคลเซียม  แมกนีเซียม  โซเดียม  โปแตสเซียม  ฟอสฟอรัส  สังกะสี  ทองแดง  เหล็ก  นิเกิล  โคบอลท์  โครเมียม  โมลิบดีนัม  ลิเทียม  เยอร์มาเนี่ยม  ซีเรเนียม  สตรอนเตียม  ติตาเนียม  โบรอน  อยู่ในระดับที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

         ในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นวิตามินก็มีนักวิทยาศาสตร์ทั้งจีนและญี่ปุ่นทำการวิจัยพบว่าในเห็ดหลินจือมีวิตามินบี1  บี2  บี6  วิตามินดี  โคลีน  ไนอาซีนและอินโนซิทอล  เป็นต้น

         เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า เห็ดหลินจือนอกจากจะมีสารสำคัญทางเภสัชที่ แสดงฤทธิ์เป็นยาแต่ภายในเห็ดหลินจือ ยังมีสารสำคัญที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์พวกวิตามินรวม  หรือผลิตภัณฑ์พวกเสริมอาหารที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป  ตรงจุดนี้ทำให้เห็ดหลินจือได้รับการยอมรับจาก นักวิจัยทั่วโลกว่าเป็นสมุนไพรที่ให้ประโยชน์มีประสิทธิภาพที่สุด

22

  กลับ        

หน้าต่อไป

 

 

   
 
 

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย